สาเหตุการเค็มของน้ำทะเล


การที่ทะเลมีรสเค็ม เนื่องจากการรวมตัวของน้ำละลายเกลือแร่ ที่ถูกพัดพามาจากพื้นทวีป และใต้ทะเล โดยความเค็มของทะเลจะมีความคงที่ สาเหตุที่ความเค็มของน้ำทะเลไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลานั้น ก็เพราะในมหาสมุทรมีกระบวนการของธรรมชาติที่รักษาระดับความสมดุลของเกลือแร่ คือถ้าหากว่าธาตุชนิดใดมีในน้ำมากเกินกว่าปกติ ก็จะถูกกำจัดออกจากน้ำทะเล โดยการแยกตัวออกเป็นของแข็ง ในทางตรงกันข้าม ถ้ามีธาตุใดละลายน้ำน้อยเกินปกติ เกลือแร่ของธาตุนั้นในรูปของแข็ง ก็จะถูกละลายกลับสู่น้ำทะเล ดังนั้น ความเค็มของน้ำทะเลจึงคงที่มาหลายล้านปีแล้ว
น้ำทะเลเค็มเพราะมีเกลือหลายชนิดละลายอยู่ ที่สำคัญที่สุดได้แก่ เกลือแกง ซึ่งมีชื่อทางเคมีว่าโซเดียมคลอไรด์ หรือ มีสูตรเคมีว่า NaCl น้ำทะเล โดยเฉลี่ยแล้วมีเกลือร้อยละ 3.5 หรือน้ำทะเล 1 ลิตรจะมีเกลือละลายอยู่ประมาณ 30 กรัม ยิ่งไปกว่านั้น ทะเลในแผ่นดินใหญ่หรือทะเลปิด ซึ่งไม่เชื่อมต่อกับทะเลหรือมหาสมุทรทั่วไป เช่น ทะเลเมดิเตอเรเนียนหรือทะเลแดง เกลือละลายอยู่มากกว่าทะเลหรือมหาสมุทรทั่วไป
แหล่งที่มา
http://sea-musa.blogspot.com/2011/12/blog-post_7763.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น